การเลือกใช้สีกับชิ้นงาน​

การเลือกใช้สีกับชิ้นงาน​

นอกจากลวดลายที่สวยแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งเสริมให้งานออกมาดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น คือการเลือกเฉดสีและคุณสมบัติของสีที่นำมาใช้งาน การเลือกใช้สีมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งสีพ่น  สีอบ และระบบสีอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละประเภทมีความคงทนของสีและราคา ที่แตกต่างกันออกไป

ทำไมเราถึงใช้สีแบบเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตชิ้นงาน ก่อนอื่น เรามีเกร็ดความรู้เล็กๆเกี่ยวกับประเภทของสีพ่นรถยนต์  ซึ่งโดยทั่วไปมีการแบ่งสีพ่นรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. สี OEM : คือสีที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ สีชนิดนี้มีเพียงองค์ประกอบเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลายเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น สีชนิดนี้จะแห้งตัวโดยการการอบที่อุณหภูมิสูงประมาณ 120-160 oC จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สีอบ" (High Bake Paint) หลังจากสีแห้งตัวแล้ว จะมีฟิล์มสีที่มีคุณภาพดีมาก ความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงาที่ดี มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก

2. สี 1K : คือสีระบบ 1 องค์ประกอบ (1 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ตัวทำละลายที่นำมาผสมนี้ จะไม่นับเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากตัวทำละลายจะระเหยตัวออกไปจนหมดหลังการใช้งาน เหลือเพียงฟิล์มสีที่แห้งตัวแล้วเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว เราจะเข้าใจว่าสี 1K หมายถึง "สีแห้งเร็ว" ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากสี 1K มีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ สี
• 1K ซินเทติกอีนาเมล หรือสีน้ำมัน เป็นสี 1K แบบแห้งตัวช้า ซึ่งแห้งตัวโดยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ (Oxidation)
• สี 1K ไนโตรเซลลูโลส เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)
• สี 1K อะคริลิค เป็นสี 1K แบบแห้งตัวเร็ว ซึ่งแห้งตัวโดยการระเหยตัวของตัวทำละลาย เช่นทินเนอร์ (Physical Drying)

3. สี 2K : คือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying) สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ จะมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน คือสี 2K แบบ "อีพ็อกซี่" และสี 2K แบบ "โพลียูรีเทน" (หรือผสมกับอะครีลิค) สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ จะเป็นสารประเภท ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัวภายหลังผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด สี 2K หลังจากแห้งตัวแล้ว จะมีคุณสมบัติในด้านความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงางามสูง มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก กล่าวคือมีคุณสมบัติที่เทียบเคียงได้กับสี OEM

และเหตุผลที่ทำให้สี 2K มีคุณสมบัติดีกว่าสี 1 K

การแห้งตัวของสีถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลถึงคุณภาพโดยรวมของสี ซึ่งการแห้งตัวที่เกิดจากการทำปฏิกิริยา ระหว่างองค์ประกอบ 2 ส่วน ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในเรซิ่น (RESIN) ของสี และอีกส่วนอยู่ในตัวเร่งหรือฮาร์ดเดนเนอร์ (HARDENER) นั้น ถือว่าเป็นการแห้งตัวที่ทำให้ได้ฟิล์มที่แห้งสมบูรณ์ ฟิล์มสีจึงค่อนข้างแข็งแกร่งและมี คุณสมบัติในด้านอื่นๆ ดีมาก ดังนี้

1. Durability – ความทนทาน รถยนต์ที่ซ่อมสีโดยใช้ระบบสี 2K จะคงสภาพเดิมและมีระยะเวลาคงสภาพเดิมได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี

2. Weather resistance – ความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ

3. Chemical resistance – สามารถทนทานต่อสารเคมีต่างๆ ได้ดี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบรก

4. Color retention – สามารถคงสภาพสีเดิม ไม่ซีดจางจากเดิมง่าย

5. Gloss – มีความเงางามสูง6. ให้คุณสมบัติเหมือนสีรถที่ออกจากโรงงานประกอบรถยนต์ O.E.M ( Original Equipment Manufacturing ขอขอบคุณ

บทความจากwww.kinggloss.com  /  https://www.toyotanont.com/articles-detail/89

และจากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งก็จะเป็นคำตอบว่าทำไมเราจึงใช้สีพ่นรถยนต์ กับชิ้นงานของเรา ความพิถีพิถันกับงานที่ต้องการตอบโจทย์ให้กับคุณ หลากหลายกับเฉดสีที่สามารถทำได้ และกับหลากหลายวัสดุทั้งเหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส  สีที่เราใช้คือสีในอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งจะมีความคงทนมากกว่าสีทั่วๆไป หลายเท่า ทั้งยังมีความสวยงาม  กันสนิม ด้วยกรรมวิธีของสีถึง 4 ขั้นตอน
- สีรองพื้นเกาะเหล็ก หรือวัสดุโลหะต่างๆ  epoxy primer
- สีโป๊ว  Body soft- สีรองพื้น His primer
- สีจริงลงทับหน้าและเคลือบทับด้วยเลตเกอร์ ความพิถีพิถันกับขั้นตอนการทำสี ความเชี่ยวชาญคือสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกับชิ้นงานที่มีรอยเชื่อมต่อของลวดลาย จะสามารถปกปิดและทำให้เรียบเนียนกลมกลืนเป็นชิ้นเดียวกัน และใน1 ชิ้นงานคุณยังสามารถเลือกเฉดสีมาผสมผสานได้หลากหลาย ทำให้ได้งานที่แตกต่าง


โดยสรุป คุณสมบัติของการใช้สีแบบเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ จะทำให้คุณได้
1. ความแข็งแรงของชั้นพิลม์สีสูงกว่า
2. สามารถทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี จึงทำให้สีไม่ซีดจางง่าย
3. มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานกว่าไม่เป็นสนิมง่าย
4. เลือกเฉดสีที่ต้องการและได้หลายสีในชิ้นงานเดียวกัน
ประตูรั้วเท่ๆเก๋


By IdeanextDiffer by Design : แตกต่างอย่างมีดีไซน์ ตามสไตล์คุณ

บทความน่าสนใจ

บริษัท ไอเดีย เน็กซ์ จำกัด

19/99 ม. 4 อ. สามพราน จ. นครปฐม 73160

แบบฟอร์มติดต่อเรา

Copyright © 2022 Ideanext All Rights Reserved.​​

DESIGN by